top of page

​๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ วันแม่แห่งชาติ

11 Aug 2017

๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
วันคล้ายวันพระราชสมภพ 
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙

ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี 
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 
ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ 
ข้าพระพุทธเจ้าเพจไร่ครูยักษ์

28 กรกฎาคม 2560 มหามงคล "วันเฉลิมพระชนมพรรษา"

27 Jul 2017

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เจริญพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานพระราชวโรกาส
ถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน เป็นฉัตรแก้วร่มเกล้า
แก่ปวงข้าพระพุทธเจ้า และพสกนิกรชาวไทยสืบไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า เพจไร่ครูยักษ์ 

20 Jul 2017

ผักพ่นพิษ’เบื้องหลัง‘ไร่พริก’...ทาสยาฆ่าแมลง : ทีมข่าวรายงานพิเศษ

            ประเทศไทยมีความพยายามจะประกาศเป็น “ครัวโลก” แต่สภาพตอนนี้ดูเหมือนกลับกลายเป็น “ครัวโรค” เพราะอะไร? มาตรการแก้ไขจะทำได้หรือไม่? โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในวงจร “เกษตรพันธสัญญา” ที่ชาวไร่ชาวนากลายเป็นทาสสัญญาไม่เป็นธรรม

            ย้อนไปเกือบสิบปีที่แล้ว คนไทยไม่รู้เลยว่าตัวเองกำลังตายผ่อนส่งด้วยการกินพิษร้ายจากสารเคมีที่ใช้ในแปลงเกษตรทั่วไป โดยเฉพาะผักและผลไม้หลักฐาน มาถูกเปิดเผยเมื่อ “อียู” (สหภาพยุโรป) ซึ่งมีระบบตรวจสอบสารพิษในอาหารที่นำเข้าประเทศ (Rapid Alert System for Food: RASFF) เมื่อปี 2553 หลังสุ่มตรวจผักผลไม้นำเข้าจากไทยพบว่า มีสารเคมีและแมลงศัตรูพืชตกค้างอันดับหนึ่ง

            อียูส่งข้อมูลตรงกลับมาที่รัฐบาลไทยพร้อมประกาศห้ามนำเข้าชั่วคราวทันที โดยเฉพาะผักตระกูลถั่ว ตระกูลมะเขือ กะหล่ำ พริก กะเพรา เนื่องจากตกใจที่ตรวจพบยาฆ่าแมลงอันตรายกว่า 20 ชนิดที่ทั่วโลกห้ามใช้เด็ดขาด เช่น คาร์โบฟูราน (Carbofuran), เมโทมิล (Methomyl) ฯลฯ

            ผ่านไปหลายปี “อียู” ยังคงตรวจอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากไทยแลนด์จะถูกนำมาตรวจเกือบทั้งหมด โดยไม่สุ่มตรวจเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า สารเคมีพิษที่ตกค้างในอาหารเป็นพิษร้ายอันตรายสะสมในร่างกายก่อให้เกิดมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หรือมีอาการทางจิตประสาท

            เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ไทยแพน (Thai-PAN : ThailandPesticide Alert Network) เริ่มสุ่มตรวจในประเทศอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2555 ทำให้เจอข้อมูลสะเทือนขวัญผู้บริโภคว่า กว่าร้อยละ 60-70 ของผักผลไม้ยอดนิยมที่คนไทยชอบกินนั้น มียาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าโรคพืช และสารเคมีร้ายแรงที่ห้ามใช้ทั่วโลกหลายชนิด

            เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคพยายามออกมาผลักดันให้กระทรวงเกษตรฯจัดการปัญหานี้อย่างจริงจัง ดูเหมือนสถานการณ์จะดีขึ้นในพืชผักบางประเภท แต่ตัวเลขล่าสุดของปี 2559 ก็ยังน่าตกใจ เพราะพบสารพิษตกค้างถึง 66 ชนิด รวมถึงที่อียูหวาดผวา 2 ชนิด ได้แก่ “คาร์โบฟูราน” พบตกค้างในพริก และ “เมโทมิล” ในฝรั่ง

            4 พฤษภาคม 2559  “ไทยแพน” จัดแถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขหลังจากเก็บตัวอย่างผัก 10 ชนิด ผลไม้ 6 ชนิด รวม 138 ตัวอย่าง ได้แก่ กะหล่ำปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง และชนิดผลไม้ 6 ชนิด ได้แก่ แตงโม มะม่วงน้าดอกไม้ มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่ง และส้มสายน้าผึ้ง สินค้าสุ่มซื้อมาจากตลาดสดและซุปเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง 7 แห่ง เขตกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และ อุบลราชธานี ระหว่าง 16-18 มี.ค. 2559 ตัวอย่างทั้งหมดส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการใน “อังกฤษ” เนื่องจากวิเคราะห์สารพิษตกค้างได้ถึง 450 ชนิด

            ผลการตรวจสารพิษตกค้างอันดับ 1 คือ “พริกแดง” พบทั้งหมด 100 %เปอร์เซ็นต์ ของตัวอย่าง อันดับ 2 กะเพราและถั่วฝักยาว พบ 66.67% อันดับ 3 คะน้า 55.56% ส่วนผลไม้นั้น อันดับ 1 คือ ส้มสายน้าผึ้ง และฝรั่ง พบ 100 % รองลงมาเป็นแก้วมังกร มะละกอ มะม่วงน้าดอกไม้ ซึ่งพบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 71.4 %

            และที่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้บริโภคมากสุด คือ พบว่าผักและผลไม้ “ปลอดสารพิษ” ที่ได้รับตราคิว “Q” หรือได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กลายเป็นว่ามีสารเคมีมากสุด และสูงถึง 57.1% ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มผักผลไม้ “ไร้สารพิษ” หรือพวกออร์แกนิคไทยแลนด์(Organic Thailand) ซึ่งหมายถึงไม่มีการใช้สารเคมีในแปลงที่ปลูก พบสารพิษตกค้างสูงเกินมาตรฐานถึง 25% หรือ 1 ใน 4 ของจำนวนตัวอย่าง

            ราคาของพืชผักไร้สารพิษ ปลอดสารพิษจะแพงกว่าธรรมดา 2 -3 เท่า เช่น คะน้าขายในตลาดสด 30-50 บาท เพิ่มเป็น 150-250 บาท พริกในตลาดแพ็คละ 20-30 บาท หากเป็นปลอดสารพิษพุ่งสูงถึง 200-300 บาท

            “ปรกชล อู๋ทรัพย์” ผู้ประสานงานเครือข่าย ฯ อธิบายว่า ผักคิวคือผักปลอดสารพิษหมายถึงผักที่ใช้สารเคมีบ้างแต่การเก็บเกี่ยวจะระวังไม่ให้มีการตกค้างหลงเหลือมาถึงผู้บริโภค ส่วนผักไร้สารพิษนั้น คือแปลงผักต้องไม่ใช้สารเคมีเลย การสำรวจครั้งนี้ทำให้รู้ว่าผู้บริโภคเหมือนถูกหลอกให้จ่ายแพงกว่า แต่เสี่ยงได้รับพิษเหมือนกัน โดยเฉพาะผักไร้สารพิษที่พบร้อยละ 25 ถือว่าสูงมาก เพราะหลักการแล้วไม่ควรตรวจพบเลย พร้อมกล่าวแนะนำว่า

            “ตอนนี้มี 3 มาตรการสำคัญที่จะต้องเร่งทำคือ ส่งข้อมูลให้กระทรวงเกษตรลงไปตรวจสอบว่า เจ้าของสินค้าทำผิดขั้นตอนส่วนไหน หรือ เป็นการแอบอ้าง และจากนี้ไปหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องช่วยกันตรวจสอบผักผลไม้ทั้งไร้สารและธรรมดาว่า กลุ่มที่มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานมาจากไร่สวนบริเวณใด 2 ซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างที่วางขายต้องช่วยกันรับผิดชอบคุณภาพสินค้าเกษตร เพราะเป็นตัวกลางที่ได้ผลกำไร ต้องสร้างระบบดูแลคุณภาพของตัวเอง สร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อ และ 3 ผู้บริโภคต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา สร้างเครือข่ายกดดันให้มีการผลิตและวางขายเฉพาะสินค้างเกษตรที่ปลอดภัย”

            คำถามที่ยังค้างคาใจคือ ทำไม “พริก” จึงกลายเป็นผักที่มีสารพิษตกค้างมากสุดถึง 23 ชนิด และพบตัวอย่างที่เก็บมาตรวจ ?

            ตัวแทนจาก “คณะทำงานติดตามผลกระทบเกษตรพันธสัญญา” เปิดเผยเบื้องหลังฟาร์มพริกให้ฟังว่า ปัจจุบันการปลูกพริกเพื่อจำหน่ายนั้น ตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ของกลุ่มนายทุนขายเมล็ดพันธุ์พืช โดยเริ่มจากชักชวนเกษตรกรกลุ่มแรกมาสมัครสมาชิกหรือแปลงเกษตรพันธสัญญา เพื่อเพาะเมล็ดพันธุ์พริกขายให้แปลงผักทั่วไป ฟาร์มพริกนี้จะต้องรับชนิดพันธุ์ที่ตกลงในสัญญาเท่านั้น และต้องซื้อและต้องใช้ ยาฆ่าหญ้า ยาฆาแมลง ยาฆ่าโรคพืช สารกำจัดวัชพืช ฯลฯ ตามที่ตกลงกันไว้เพื่อให้ได้เมล็ดแม่พันธุ์ที่อวบอิ่ม สวยงาม สีแดงเขียวสดใส จากนั้นนายทุนจะซื้อเมล็ดไปขายให้ชาวไร่ทั่วไปที่ปลูกพริกขาย และทำสัญญาคล้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้ใช้สารเคมีจำนวนมาก เพราะกำไรที่นายทุนได้มาจากส่วนนี้เป็นหลัก

            “ พริกทั่วไปถ้าไม่ใช้ยาฆ่าแมลงจะไม่ค่อยอวบสวย และต้นพริกโดยธรรมชาติติดโรคและตายง่าย ทำให้ต้องกระหน่ำใส่ยาต่าง ๆ เต็มที่ สารพิษเหล่านี้เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของพริก เพราะสะสมตั้งแต่ในเมล็ดพันธุ์ ไม่สามารถล้างออกได้ คนกินจึงได้รับอันตรายสุด สุ่มตรวจเท่าไรก็เจอ รัฐบาลต้องเริ่มเอาจริงในการจัดการกับระบบเกษตรพันธสัญญาที่หลอกล่อให้ชาวไร่ชาวนากู้ยืมจากนายทุน สุดท้ายไม่มีเงินคืนก็กลายเป็นหนี้สิน ต้องทำตามที่เขาบอกทุกอย่าง ให้ใช้สารเคมีอะไรก็ใช้ นายทุนไม่สนใจว่ามีสารพิษตกค้างไปทำอันตรายคนกินแค่ไหน”

            ตัวแทนจากข้างต้น ยอมรับว่า ที่ผ่านมาเครือข่ายเกษตรกรทางเลือกฯ พยายามผลักดัน “ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองเกษตรพันธสัญญา”เพื่อช่วยดูแลไม่ให้ชาวไร่ชาวนาตกเป็นทาสนายทุน โดยเนื้อหาสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ

            1. ห้ามทำสัญญา “ได้เปรียบ” อีกฝ่ายหนึ่ง 2. ห้ามส่งไม่ให้ขาย “พันธุ์พืช-สัตว์” “อาหาร” “ยา” และ“ปัจจัยผลิต” ที่ไม่มีคุณภาพให้แก่เกษตรกรหรือคู่สัญญา

            3. “ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร” ต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานรัฐ 4. ต้องเปิดเผยข้อมูลสัญญาต่อสาธารณะ 5. รัฐต้องมีมาตรการส่งเสริม “การลงทุน” และ “ภาษีอากร” ให้กับบริษัทหรือเอกชนที่ประกอบธุรกิจด้านการเกษตรพันธสัญญา

            6. ทั้งฝ่ายเกษตรกรและบริษัทเอกชนต้องร่วมกันรับผิดชอบหากทำความเสียหายให้สิ่งแวดล้อม 7. แต่งตั้ง “คณะกรรมการระงับข้อพิพาท” ทุกจังหวัด และ 8. เมื่อมีการร้องเรียนต้องพิจารณาระงับข้อพิพาทให้เสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน โดยผู้ที่ทำผิดต้องรับโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับ 2 แสน-1 ล้านบาท ตามที่กฎหมายกำหนด

            ล่าสุด ร่างกม.ข้างต้นอยู่ที่ “สนช.” หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เพียงแต่ไม่ได้ถูกยกเป็นกฎหมายสำคัญ จึงไม่ได้รีบเร่งพิจารณา !?!

            ชาวบ้านได้แต่หวังว่า ตัวเลขสารพิษที่ตกค้างในผัก-ผลไม้ ที่ถูกเปิดเผยออกมานั้น อาจทำให้รัฐบาลเร่งสปีดออกกฎหมายตัวนี้มา และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดการควบคุมดูแล

            ก่อนที่คนไทยจะตายผ่อนส่งเพราะกิน “ผักพิษ” “ผลไม้พิษ” ที่สำคัญ คือ มะเร็งหรือโรคร้ายที่เกิดจากสารพิษเหล่านี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เกิดกับทุกคนที่จับจ่ายซื้ออาหารเข้าร่างกายวันละ 3 มื้อ

            อย่าปล่อยให้คนไทยทำงานหนักแล้วสุดท้ายเอาเงินไปซื้อสารพิษกิน และอย่าปล่อยให้ชื่อเสียงไทยแลนด์จาก “ครัวโลก” เป็น “ครัวโรค” !

20 Jul 2017

ในการแชร์ต่างๆขึ้นโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ทั้งทาง facebook , Line , Instagram , Twitter และอื่นๆ ก่อนที่จะแชร์จะต้องระมัดระวัง คิดสักนิดก่อนแชร์ เพราะตอนนี้เหล่าอาชญากร มิจฉาชีพ เริ่มหาเหยื่อผ่านการแชร์บนโลกโซเชียลที่คุณแชร์นี้เอง ซึ่งพฤติกรรมบางอย่างที่คุณโพสต์แล้วแชร์ทางโซเชียลนี้ กลับเป็นข้อมูลชั้นดีแก่เหล่าแฮกเกอร์ถึงขั้นขโมยตัวตนคุณได้เลย บทความนี้มาดู สิ่งไม่ควรโพสต์ลงในโซเชียลเน็ตเวิร์คกัน

สิ่งที่ต้องระวังและไม่ควรโพสต์ลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ค

1.บัตรประจำตัวประชาชน

โดยเฉพาะเลข “เลขบัตรประชาชน 13 หลัก” มักจะถูกนำไปใช้ในการทำเรื่องสำคัญสำหรับเรา ไม่ว่าจะเป็นการสมัครบัตรเครดิต บัตรเดบิต ขอสินเชื่อ เปิดบัญชีธนาคาร เสียภาษี สมัครงาน และทุกๆอย่างที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน และตอนนี้บริการครอบคลุมไปถึงการรักษาพยาบาล การทำใบขับขี่ด้วย
วิรัช หวังปิติพาณิชย์ ทนายความ เผยว่า บัตรประชาชนถือเป็นเอกสารสำคัญที่จะมีข้อมูลบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล ปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก ถ้าคนร้ายได้ไปก็สามารถนำไปเป็นสำเนาปลอมเพื่อสมัครบัตรเครดิต เปิดใช้โทรศัพท์มือถือ ร้ายกว่านั้นคือ ทำการเปลี่ยนแปลงรูปถ่ายเป็นหน้าของบุคคลอื่น เพื่อใช้ยืนยันตนเอง
“ในที่สุด เจ้าของบัตรก็จะเดือดร้อน อันเนื่องจากการกระทำของคนร้าย ทางที่ดีที่สุดไม่ควรนำภาพถ่ายบัตรประชาชนลงในโลกโซเชียลมีเดียโดยเด็ดขาด”

2.หนังสือเดินทาง Passport

สำคัญเท่ากันกับบัตรประชาชน อย่าชูหมายเลข Passport และชูหน้า Passport ที่มีข้อมูลทั้งชื่อ นามสกุล วันเกิด และอื่นๆแชร์ขึ้นบนโลกออนไลน์ เพราะคนร้ายก็มีโอกาสใช้ช่องทางออนไลน์ในการปลอมแปลง Passport ได้เช่นกัน

3. ตั๋วเครื่องบิน

ตั๋วเครื่องบิน”อาจดูเหมือนไม่มีข้อมูลอะไรที่เสี่ยงและน่าวิตกกังวลเท่าไรนัก แต่สำหรับอาชญากรหัวกะทิแล้ว ตั๋วเครื่องบิน หรือบอร์ดดิ้งพาส เปรียบเสมือนกุญแจทองคำไขเข้าไปสู่บ้านของคุณได้อย่างดีทีเดียว
ไม่ว่าจะข้อมูลบนบัตร เช่น ชื่อนามสกุล จุดเริ่มต้นของการเดินทาง จุดหมายปลายทาง และบาร์โค้ด สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเรา ทั้งยังอาจเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทางของเราได้อีกด้วย คำแนะนำคือ นักท่องเที่ยวฉีกตั๋วทิ้งหรือเอาไปใส่เครื่องทำลายเอกสารหลังการใช้งานจะดีเสียกว่า
การที่จะบอกคนอื่นๆในโลกโชเชียลว่าจะเดินทางไปไหน โดยโพสต์ตั๋วเครื่องบินโชว์นั้น คนร้ายจะทำการใช้โปรแกรมตรวจจากบาร์โค้ดของตั๋วเครื่องบิน ทำให้เห็นถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้เดินทางอย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นเดินทางไปไหนมาไหน ใช้บัตรเครดิตยี่ห้อใดซื้อตั๋วเครื่องบิน และเลวร้ายที่สุดคือ คนร้ายสามารถสั่งยกเลิกตั๋ว หรือเห็นตัวเลข 4 หลักของบัตรเครดิตซึ่งจะไปสวมรอยใช้บัตรเครดิตได้”

4. เช็คอินสถานที่ต่างๆ 

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Distinctivedoors.co.uk ซึ่งทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอาชญากรรมในปัจจุบันพบว่า โจรกว่า 75% ใช้การค้นหากลุ่มเป้าหมายผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter , Foursquare , Google Maps รวมทั้ง Google Street View พูดง่ายๆว่า ค้นหาตำแหน่งบ้านที่พักอาศัยของเหยื่อได้อย่างสะดวกมากๆ โดยไม่จำเป็นต้องมาเฝ้าดูลาดเลาด้วยซ้ำ คนร้ายสามารถสำรวจสิ่งต่างๆภายในบ้านผ่านโลกออนไลน์ เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี ชุดเครื่องเสียงสุดหรูในห้องรับแขกที่เคยโพสต์อวดเพื่อนๆ สร้อยคอเพชรนิลจินดา รถยนต์ ก็ล่อตาล่อใจโจรได้ไม่น้อย ที่สำคัญหากคุณเช็คอินตลอดเวลา อยู่ไหน ไปที่ไหน ทำให้มิจฉาชีพรู้ว่าไม่อยู่บ้าน หรือกำลังจะกลับ ถือเป็นเรื่องเสี่ยงสุดๆ

5 .นิ้วมือ

นักวิจัยญี่ปุ่นเตือน การถ่ายภาพชูสองนิ้ว เสี่ยงโดนขโมยลายนิ้วมือ โดยนายเอจิเซ็น อิซะโอะ ( Echizen Isao ) นักวิจัยแห่งกระทรวงสารสนเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า เวลาถ่ายรูป นั้นอย่าชูให้เห็นปลายนิ้ว เพราะตอนนี้เทคโนโลยีภาพและกล้องนั้นถูกพัฒนาขึ้นไปในระดับใหม่แล้ว ซึ่งข้อมูลลายนิ้วมือของท่าน สามารถถูกเก็บได้จากเพียงแค่การถ่ายรูปที่เห็นปลายนิ้วได้ชัดเจนภายในระยะ 3 เมตรจากกล้อง ดังนั้นหากจะถ่ายเซลฟี่ ถ่ายหมู่ให้หยุดชูสองนิ้ว เพราะหากยังชูนิ้วอยู่ อาจโดนขโมยลายนิ้วมือได้ ซึ่งนิ้วเราเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตัวเราอยู่แล้วหากทำท่านี้มีโอกาสเสี่ยงโดนขโมยลายนิ้วมือเพื่อใช้ในการสวมรอยและขโมยข้อมูลสำคัญ โดยลายนิ้วมือไม่สามารถเปลี่ยนลายนิ้วใหม่ได้และมีไปตลอดชีวิต หากลายนิ้วมือโดนก็อปไป เท่ากับขโมยตัวตนของเราไปแล้ว

ดังนั้นการที่จะแชร์จะโพสต์โลกโซเชียล ต้องระมัดระวัง และคำนึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังแชร์ด้วย

วันที่ 27-30 ก.ค.60 : งานแสดงสินค้า “Organic and Natural Expo 2017”

26 Jul 2017

งานแสดงสินค้า : “Organic and Natural Expo 2017”

ระยะเวลาการจัดงาน: 📌วันพฤหัสบดีที่ 27 - วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (4 วัน)

                                         เวลา 10.00 – 20.00 น.

สถานที่จัดงาน:ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Plenary Hall 1 – 3)

ลักษณะงาน :Organic & Natural Expo 2017 เป็นงานแสดงสินค้าอินทรีย์และธรรมชาติ รวมถึงบริการอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเป็นการรวบรวมผู้ผลิตผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าและบริการอินทรีย์ และธรรมชาติ อย่างครบวงจร เพื่อขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ ส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าอินทรีย์ให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนกระตุ้นการบริโภคสินค้าอินทรีย์

วันที่ 27 ก.ค. – 6 ส.ค. 2560 : งาน“กองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา”

26 Jul 2017

กองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา”

 

📌 วันที่ 27 ก.ค. – 6 ส.ค. 2560 ณ.สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)

ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

วันที่ 29 ก.ค. – 30 ก.ค. 2560 : งานตลาดนัดธรรมชาติ เมืองเอก รังสิต

28 Jul 2017

📌 วันที่ 29-30 ก.ค. 60 : ตลาดนัดธรรมชาติ เมืองเอก รังสิต
เวลา 10.00-18.00 น.

 

พบของสด ของกิน ของใช้ ของแปรรูป ปลอดภัยไร้สารเคมี

และกิจกรรมเรียนรูสนุกๆ ทุกสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน
ณ สวนสุขภาพ ลานพระพรหม เมืองเอก

พบ...ข้าว ไข่ ผัก ของกิน ของใช้ ของแปรรูป
ผลผลิตดีๆ กิจกรรมโดนๆ จากกสิกรอินดี้ และเครือข่ายศิษย์ยักษ์กับโจน


#ธรรมธุรกิจ #ธุรกิจเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

1 / 1

Please reload

bottom of page